ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลนครพนม

ข้อมูลพื้นฐานศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลนครพนม ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

1. ข้อมูลทั่วไป
          ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลนครพนม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม ได้รับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเด็กในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน โดยเริ่มโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กป่วยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะด้านการศึกษา และด้านอารมณ์ สังคม จิตใจ
ของเด็กป่วย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม ได้ร่วมทำข้อตกลงร่วมกันกับทางโรงพยาบาลนครพนม เปิดศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2555ณ อาคาร 62 ปี โรงพยาบาลนครพนม ชั้น 3 หอผู้ป่วยเด็ก 1 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000 มีการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กที่เข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลนครพนม ซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
         1) ห้องกระตุ้นพัฒนาการ ได้ให้คำปรึกษาจากนักสหวิชาชีพ ครูการศึกษาพิเศษ ครูประจำศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนสุขภาวะอนามัยของเด็ก ให้มีพัฒนาการอย่างสมวัย
         2) กิจกรรมเด็กตามเตียง และห้องเจ็บป่วย ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระวิชาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
         3) ห้องหอบหืด ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระวิชาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากครูประจำศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
         4) ห้องธาลัสซีเมีย ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระวิชาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากครูประจำศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองนครพนม (สกร. นครพนม)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยเด็กป่วย
ในโรงพยาบาลที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงพระราชทาน “ห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล” และแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เด็กป่วยได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข ด้วยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดการต่อยอด และขยายผล ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ถึง 90 แห่ง ใน 77 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

2. ข้อมูลด้านการบริหารศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลนครพนม
          ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลนครพนม มีโครงสร้างการบริหาร ดังนี้
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม

          1) ว่าที่ร้อยตรีณรงค์รัชช์  โชคธนาประสิทธิ์     ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม
          2) นายภาคภูมิ  แพงพิมาย                      หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
          3) นางสาวรวิพร  พิทักษ์                        ครูผู้รับผิดชอบงานจัดการศึกษาสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
          4) นางสาวทัชราพร  มะละกา                    ครูประจำศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
          5) นางสาวณัฏฐกานต์  แหวนจีน               ครูประจำศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
โรงพยาบาลนครพนม

          1) นพ.นฤพนธ์  ยุทธเกษมสันต์                  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม
          2) นางณัฏฐฎาพร  ศรีประดิษฐ์                 รองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม
          3) แพทย์หญิงงามจิตร  นิลวัชราวัง            นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลนครพนม
          4) นางเพ็ญจุรี  แสนสุริวงค์                     พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
                                                              หัวหน้าตึกเด็ก ๑ โรงพยาบาลนครพนม
          5) นางสาวปวริศา  ตั้งไพบูลย์                   หัวหน้ากลุ่มงานพยาบาล ผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
          6) นางสาวพัชรินทร์  ศรีอาสน์                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนครพนม

3. วัตถุประสงค์ของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
          โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กป่วยเรื้อรังซึ่งขาดโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียน และเรียนได้ทันเพื่อนเมื่อออกจากโรงพยาบาล โดยใช้ไอทีเป็นสื่อในการเรียนรู้ และสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กลดความวิตกกังวลต่อโรค และอาการเจ็บป่วย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
          1) กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักบริหารงานการศึกษา สพฐ. สนับสนุนครูผู้สอนประจำศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
          2) กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุน
การจัดตั้งห้องศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
          3) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สนับสนุนนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล

Scroll to Top