ประวัติศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม

                 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในจังหวัดที่ไม่มีโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จัดตั้งศูนย์ฯให้บริการการศึกษาเพื่อคนพิการในปีการศึกษา ๒๕๔๓กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการเพ็ญศรี พู่ระหงผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาพิเศษมุกดาหาร เปิดดำเนินงานเป็นสาขาและประสานงานในการจัดตั้งศูนย์ ฯ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดนครพนมขอความร่วมมือกับโรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคมและองค์การบริหารส่วนตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในการขอใช้ที่สาธารณประโยชน์จำนวน 17 ไร่ 40 ตารางวา เป็นสถานที่ก่อสร้างจัดตั้งศูนย์ฯ โดยนายสมพงษ์  อุมะวรรณผู้อำนวยการโรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม ได้ให้ความอนุเคราะห์ใช้อาคารเรียน ข เป็นสำนักงานศูนย์ ฯ ชั่วคราว        

                ปี 2545 นายสุพจน์ ชะพินใจ ครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม ต่อมาในปี 2547 ได้ย้ายศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม โดยขอความอนุเคราะห์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ใช้อาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม (หลังเดิม) เป็นสำนักงานชั่วคราว

                ปี 2555 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม ได้รับอนุมัติงบสร้างอาคารเรียนฝั่งห้องสมุด อาคารพยาบาล โดยกลับมาสร้างยังสถานที่เดิมคือ ตำบลนาราชควาย ในปี พ.ศ.2556 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารฝั่งธาราบำบัด ในปี 2559 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงหุงต้ม บ้านพักผู้บริหาร และป้อมยาม ในปีงบประมาณ 2560 ได้รับงบก่อสร้างถนนคอนกรีต รั้วกำแพงมาตรฐาน และโรงจอดรถ และเงินเหลือจ่ายก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งมาตรฐาน พร้อมถมดิน และในปีงบประมาณ 2561 ได้รับงบก่อสร้างแฟลตบ้านพักนักการภารโรง บ้านพักผู้บริหาร อาคารสำนักงานส่วนหน้าและเงินเหลือจ่ายในการก่อสร้างโดมทางเดินเชื่อมอาคารเรียน ถนนเชื่อมอาคาร โรงจอดรถ 2 หลังและอาคารธาราบำบัด

          ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 377 หมู่ที่ 8 ตำบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
มีว่าที่ร้อยตรี ดร.ณรงค์รัชช์ โชคธนาประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 2 การบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ 3 ชุมชนการเรียนรู้

อัตลักษณ์

สุขภาพดี มีความสุข”(คุณลักษณะอันพึงประสงค์)
               สุขภาพดี หมายถึง ผู้เรียนมีสุขภาพร่างรายแข็งแรงตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
               มีความสุข หมายถึง ผู้เรียนอารมณ์เบิกบาน ร่าเริง แจ่มใส สามารถเล่นและทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

เอกลักษณ์

“ประสานเครือข่าย ขยายโอกาสทางการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

               เครือข่าย หมายถึง ผู้ปกครองบ้าน วัดโรงเรียน โรงพยาบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมาคม/ชมรมคนพิการ

               ขยายโอกาสทางการศึกษาหมายถึง มีหน่วยบริการ โรงเรียนเรียนรวม การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย อาชีวะศึกษา และอุดมศึกษา

                 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

                  การบริหารจัดการ หมายถึง การบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารงาน

 

Scroll to Top